รีวิว Nocturnal Animals
Nocturnal Animals คืนทมิฬ เรื่องราวของ Susan ศิลปินหญิงที่ชีวิตอยู่ในจุดตกต่ำทั้งงานและชีวิตรัก เธอได้รับนิยายผลงานเขียนของ Edward สามีเก่าของเธอเพื่อบอกอะไรบางสิ่ง หนังสืบสวน สอบสวน อาชญากรรม
Tom Ford ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ถ้าไม่ใช้เวลาค้นหาข้อมูลจะไม่รู้เลยว่าจริงๆ ปูมหลังของเขาคือคนที่อยู่ในแวดวงเบื้องหลังวงการแฟชัน เปิดตัวบริษัทปี 2006 เป็น Creative Director ให้แบรนด์ Gucci หรือ Yves Saint Laurent ยังมาแสดงศักยภาพในแวดวงภาพยนตร์ได้ดีกรี Academy Award-nominated films ในภาพยนตร์เรื่อง A Single Man (2009) ซึ่งผมเองก็ยังไม่ได้ดู (และอาจจะต้องหามาดูแล้ว) บังเอิญที่หน้าหนังอย่าง Nocturnal Animals นั้นมันไม่จูงใจให้ผมเปิดดูเลยตั้งแต่ปี 2016 เดินผ่านหน้าโรงช่วงนั้นก็ไม่ได้อยากจะดูนัก จนกระทั่งมันมาปรากฏใน Netflix เอาก็ 2019 ละ ดูหนังออนไลน์
รีวิว Nocturnal Animals บทนำ
ระยะหลังมานั่งนึกๆ ว่าหนังแบบไหนที่จะโดนใจเราหลังดูจบ ก็ตระหนักได้ว่ามีอยู่ 2 จำพวกใหญ่ๆ ครับ ได้แก่ พวกแรก “ดีต่อใจ” ที่ดูแล้วอิ่มเอมเปรมปรีดิ์ ดูแล้วได้สารอาหารทางใจไปใช้ในการดำเนินชีวิตต่อ รวมถึงได้แง่คิดดีๆ ไว้ใช้เป็นทางออกยามชีวิตเกิดปัญหา ดูหนังฟรี
อีกจำพวกคือ “สาแกใจ” คือดูแล้วโดน ถึงรส เข้มในแบบของมัน หนังกลุ่มนี้อาจห่างจากคำว่า “ดีต่อใจ” แบบสิ้นเชิง ดูแล้วไม่ได้รู้สึกเกิดพลังในการใช้ชีวิต ดีไม่ดีบางเรื่องทำให้รู้สึกว่าโลกนี้โหดอีกต่างหาก แต่ตัวหนังมันมีพลัง จนพลังที่ว่าแผ่ซ่านมาจับใจเราได้
Nocturnal Animals อยู่ในจำพวกหลังครับ เพราะมันไม่ใช่หนังโลกสวย แต่มันคือหนังที่เอาแง่มุมในโลกมาสะท้อนให้เราเห็น ให้เราคิด ให้เราผวา และให้เรารู้สึกสะเทือนใจ เพราะแม้มันจะเป็นหนัง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในชีวิตจริงและโลกจริงที่เราอาศัยอยู่นี้ มันมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้ตลอด
ซูซาน มอร์โรว์ (Amy Adams) ได้รับต้นฉบับนิยายเล่มใหม่ที่อดีตสามีของเธอเขียนขึ้น และเธอก็อ่านมัน… มันคือนิยายระทึกขวัญว่าด้วยครอบครัวที่ประกอบด้วยพ่อ (Jake Gyllenhaal), แม่ (Isla Fisher) และลูก (Ellie Bamber) ต้องเผชิญกับเรื่องไม่คาดฝันระหว่างเดินทางบนถนนสายหนึ่ง
ผมไม่เล่าอะไรมากกว่านี้แล้วครับ รู้คร่าวๆ แค่นี้พอ เพราะความสนุกของหนังเรื่องนี้ก็เหมือนการอ่านนิยายระทึกขวัญดีๆ สักเล่ม ที่มันจะสนุกกว่าหากเราเปิดอ่านอย่างตั้งใจไปทีละหน้า ค่อยๆ ซึมซับไปกับเรื่องราวและอารมณ์ของตัวละคร ค่อยๆ ให้ผู้เขียนนำพาเราไปสู่แต่ละบทของเรื่องราว
เรื่องย่อ
หนังมาพร้อมองค์ประกอบที่เจ๋งมากๆ เริ่มจากบรรยากาศของหนังที่มีเอกลักษณ์มากๆ ไม่ว่าฉากหรืออารมณ์มันดูแปลกตา ที่น่าสังเกตคือในฉากที่เป็นชีวิตคนในโลกจริงๆ มันจะมีกลิ่นอาย “ความเหนือจริง” เจืออยู่ตลอด มันดูฟุ้งๆ ฝันๆ เซอร์เรียลๆ แต่ในทางกลับกัน พอถึงฉากที่เล่าถึงเรื่องในนิยาย มันกลับดูจริงจัง เต็มไปด้วยเลือดเนื้อ และไร้ซึ่งความฟุ้งฝันใดๆ
การเล่าเรื่องเป็นอะไรที่จับใจมากครับ หนังค่อยๆ เล่าเรื่องไปทีละนิด แต่เต็มไปด้วยความน่าติดตาม มันชวนให้เราอยากรู้ว่าเรื่องมันจะไปทางไหนต่อ ตัวละครจะเจอกับเหตุการณ์ใดต่อ แม้จริงๆ แล้วเราจะพอเดาได้ก็เถอะว่าเรื่องราวต่อไปจะเป็นยังไง และมันจะจบลงตรงไหน แต่ด้วยฉาก ด้วยอารมณ์ ด้วยการแสดง และด้วยการทิ้งปม+วางปม+คลายปม มันมีจังหวะที่พอเหมาะพอดีในการกระตุ้นต่อมอยากรู้ของคนดูให้ทำงานต่อไปเรื่อยๆ
จุดเด่นของหนัง
อยากเอ่ยชม Tom Ford เลยครับ เขากำกับเรื่องนี้และดัดแปลงบทมาจากนิยายของ Austin Wright ผู้ล่วงลับ ซึ่งถือว่าทำหน้าที่ได้ยอดเยี่ยมมาก เขาสามารถคุมหนังได้อยู่หมัด คุมทั้งฉาก ทั้งโทน ทั้งอารมณ์ ทั้งความอาร์ท อีกทั้งการเล่าเรื่อง ซึ่งบอกได้เลยว่าถือมือไม่แม่นพอ หนังมีโอกาสจะเละเอาได้ง่ายๆ ทีเดียว
แน่นอนว่าอึกหนึ่งพลังสำคัญมากๆ ของหนังคือการแสดงครับ ทุกคนเล่นได้ดีจริงๆ เริ่มจาก Adams ที่เล่นเรื่องไหนก็ถึงใจเรื่องนั้น โดยเฉพาะการแสดงอารมณ์นี่เป็นอะไรที่ได้ใจมากๆ ครับ เพราะส่วนใหญ่ในหนังเธอจะต้องแสดงออกผ่านท่าทาง สีหน้า บางจังหวะก็ผ่านทางลมหายใจ คือถ้าเจ๊เขาไม่เจ๋งจริงก็คงทำไม่ได้ขนาดนี้หรอกครับ
Gyllenhaal ก็เหมือนกันครับ ขานี้เล่นได้ลื่นอยู่แล้วกับบทหนักๆ เครียดๆ แบบนี้, ส่วนบทของ Fisher ถ้าจะว่าไปแล้วมีไม่เยอะ แต่ก็ถือเป็นบทที่มีนัยสำคัญทีเดียวครับ แต่รายที่ได้ใจผมเยอะหน่อยก็คือ Michael Shannon ที่มีบทบาทใน เรื่องราวส่วนของนิยาย การแสดงออกของพี่เขาก็จัดว่าทรงพลังไม่แพ้ Adams เลยครับ แม้จะขึ้นจอน้อยกว่า แต่พลังเยอะไม่แพ้กัน (จัดว่าคู่ควรแล้วที่ได้ชิงออสการ์จากบทนี้)
ผมชอบมากเวลาตัวละครนี้กระแอม, เยื้องย่าง หรือใช้ภาษากายเพื่อทำอะไรสักอย่าง มันทั้งเท่ห์ ทั้งเก๋า และแสดงตัวตนกับความคิดของตัวละครนี้ไปในเวลาเดียวกัน และยังมี Aaron Taylor-Johnson ที่มาดของเขาดูกวน ร้าย และอันตรายแบบน่าขยะแขยง คือมันดูน่ากลัว น่ารังเกียจ แต่เขาก็สามารถคุมลิมิตการแสดงออกของบทนี้ได้พอเหมาะ แม้จะดูน่าหมั่นไส้ (และอาจจะน่าทำปืนลั่นใส่) แต่ก็ไม่ถึงขั้นทำให้คนดูรำคาญจนทนไม่ไหว (นี่ก็ได้ลูกโลกทองคำไปแบบเหมาะสมเช่นกัน)
รีวิว Nocturnal Animals บทสรุป
เป็นหนังที่ทำได้ถึงรสจริงๆ ครับ ได้ทั้งรสดราม่า, รสระทึกขวัญ บางฉากบางตอนก็มีรสหวานๆ โรแมนซ์ๆ ทั้งหมดผสมรวมกันได้แบบกลมกล่อม และเทคนิคการเล่าเรื่องก็น่าจดจำมากๆ หนังเล่าสลับระหว่างเรื่องในนิยายกับเรื่องชีวิตจริงได้พอเหมาะมากๆ เอาเป็นว่าถ้าให้สรุปล่ะก็ หนังเรื่องนี้ผมแนะนำเลยครับ
หนังเรื่องนี้ดูสนุกทั้งในฐานะหนังระทึกขวัญสักเรื่องที่มีเนื้อหาง่ายๆ แต่น่าติดตามอย่างยิ่ง และยังเป็นหนังที่สะท้อนสังคม สะท้อนโลกกลมๆ ของมนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ ได้อย่างน่าสนใจ บางสิ่งที่สะท้อนก็ได้อารมณ์แสบๆ คันๆ เป็นการจับเอาเรื่องจริงมาพูดเล่นได้อย่างเข้าท่ามากๆ
อย่างนิยาย Nocturnal Animals ที่สามีเก่าของซูซานเขียนนั้น อ่านไปก็รู้ล่ะครับว่ามันมีเค้าโครงกับองค์ประกอบต่างๆ จากชีวิตจริงของเขากับซูซาน ซึ่งหนังก็กระตุ้นเร้าให้เราสนใจประเด็นนี้ตั้งแต่ต้น เมื่อได้รู้ว่าสามีเก่าซูซานส่งนิยายเล่มนี้มาให้เธออ่านโดยเฉพาะ ซึ่งใจผมก็เกิดคำถามล่ะครับว่า “เขาส่งมาให้เธออ่าน ด้วยเจตนาอันใด?”
ว่าตามจริงหนังเปิดโอกาสให้เราตีความกันเองแบบเต็มที่ครับ คือมันมองได้หลายแบบแล้วแต่ว่าใครจะมองหรือจะเห็นในมุมไหน ซึ่งผมถือว่าเป็นอีกหนึ่งความสนุกที่หนังเรื่องนี้มอบให้ครับ ประมาณว่าใครชอบคิด ชอบสังเกต ชอบตีความหรือเชื่อมโยงล่ะก็ หนังเปิดช่องเปิดปมให้เราคิดหลายอย่างอยู่
อีกจุดที่ผมชอบในการเล่าเรื่องคือ หนังใช้ประโยชน์จากการที่ปมในนิยายกับปมในชีวิตมันเกี่ยวโยงกันน่ะครับ อย่างบางปมในนิยายเราก็อาจสงสัย เช่น การที่นิยายลงเอยด้วยความตายของลูกเมียโทนี่ มันก็ชวนให้คิดนะว่าเอ็ดเวิร์ดนั้นอารมณ์ไหนถึงแต่งเรื่องออกมาแบบนี้
แต่พอหนังดำเนินไปถึงจุดหนึ่งเราก็เข้าใจมากขึ้นครับ ก็เพราะเอ็ดเวิร์ดเสียเมียไป เสียลูกไปจริงๆ จึงไม่แปลกเลยหากเขาจะแต่งให้ตัวเอกในนิยายเสียลูกเสียเมียเหมือนกัน และเมื่อดูถึงตอนจบก็จะพบว่าตัวละครหลักต่างพากันตายหมด ต่างแค่ตายช้าหรือตายเร็วเท่านั้น ซึ่งมันสะท้อนได้ทั้งสภาพสังคมโลกเรา และสภาพจิตใจของผู้ประพันธ์มันขึ้นด้วย
เหมือนบอกแบบตรงๆ ว่าโลกนี้มันโหด คนที่แกร่งจริงเท่านั้นถึงจะอยู่รอด ถ้าไม่เล่นเขาก่อน เราก็อาจเป็นฝ่ายโดนเล่นเสียเอง ฯลฯ มันอาจดูเป็นทัศนคติที่ลบเอามากๆ จนหลายคนอดคิดไม่ได้ว่ามันลบเกินไปไหม มันดูไร้ความหวังเกินไปไหม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ล่ะครับว่าชีวิตคนมากมายที่เจอโศกนาฏกรรมจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อน่ะ ก็มีอยู่จริงๆ
ตัวละคร
ตัวละครที่ผมรู้สึกสนใจมากที่สุดคือ เรย์ เจ้าหนุ่มหัวโจกที่ทำให้ครอบครัวของโทนี่พังกระจุยไม่เหลือดี ซึ่งตัวเรย์นี้เราก็มองได้หลายแบบครับ ในมุมหนึ่งเรย์ก็มีบางส่วนชวนให้นึกถึง ฮัตตัน (Armie Hammer) สามีคนปัจจุบันของซูซานที่แย่งเธอไปจากเอ็ดเวิร์ด และยังรู้เห็นในการทำแท้งลูกของเขาอีกต่างหาก
เมื่อสังเกตดีๆ ก็จะพบว่าเรย์กับฮัตตันคล้ายกันในแง่ของความเป็นคนเจ้าชู้ หาคู่นอนไปเรื่อย ทำผิดได้โดยไม่รู้สึกผิด หรือไม่ก็หาเหตุผลมารองรับเพื่อบรรเทาความผิดของตน แต่ที่ต่างกันคือฮัตตัน (ที่อยู่ในโลกจริงๆ) เป็นพวกรวย หรูหรา ดูดี มาดเท่ห์ มีเสน่ห์ให้คนหลง แต่เรย์กลับออกแนวกักขฬะ ประเภทว่ากล้านั่งชักโครกที่หน้าบ้านขนาดนั้น
ถ้าให้นึกอารมณ์เอ็ดเวิร์ดล่ะก็ มันก็เหมือนเขาเกลียดฮัตตัน เลยเนรมิตภาพของฮัตตันใส่ลงไปในนิยายในรูปของเรย์ให้ดูน่าเกลียด น่าทุเรศ และน่าสมเพชมากที่สุดเท่าที่จะทำได้… ประหนึ่งการแก้แค้นแบบกลายๆ นั่นเอง
และหากมองในอีกมุม เราอาจมองได้ว่าเรย์เป็นเหมือนสิ่งแทน “สัญชาตญาณดิบ” ที่แฝงอยู่ในตัวซูซาน ซึ่งก็คือตัวตนดั้งเดิมที่ถูกหล่อหลอมมาจากครอบครัวของเธอ รวมถึงมุมมองการคิดอ่านหลายอย่างของซูซานที่สุดท้ายแล้วก็คล้ายแม่ของเธอ
และสัญชาตญาณภายในนี้เองที่ทำหลายครอบครัวของโทนี่ (แน่นอนว่ารวมถึงชีวิตของเอ็ดเวิร์ดด้วย) อย่างการที่เรย์ฟาดแฟนโทนี่ตายคาที ก็มองได้ว่าสัญชาตญาณดิบตัวนี้ฟาดด้านอ่อนไหวของซูซานให้สิ้นใจไป หรือการที่เรย์ข่มขืนลูกสาวโทบี้แล้วฆ่า ก็เปรียบได้กับลูกของเอ็ดเวิร์ดที่โดนทำแท้ง (โดนบังคับให้ต้องตาย)
… เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นโดยที่โทบี้ไม่ได้เห็นด้วยตา เขาเห็นเพียงภรรยาและลูกเขาโดนพาตัวหายไปในถนนอันแสนมืดมิด แต่เขาก็ต้องรับผลมัน (เหมือนความคิดและการตัดสินใจต่างๆ ของซูซานที่เกิดในหัวและจิตใจที่ลึกสุดหยั่งของเธอ)
ที่น่าสนใจคือเรย์เป็นเหมือนสัญชาตญาณดิบที่พยายามปรุงความดิบของตัวเองให้ “สุก” ด้วยการใช้ “เหตุผล” หลายครั้งเรย์พูดดูดีเหมือนมีหลักการ เอาเหตุผลมาใช้เป็นเหมือนเครื่องแก้ตัวให้ดูผิดน้อยลง แต่จนแล้วจนรอด ความโหดร้ายที่เขาทำ มันก็ยังคงเป็นความโหดร้ายอยู่ดี
พอดูหนังจนจบ ถึงฉากที่สุดท้ายแล้วซูซานไปนั่งรอเอ็ดเวิร์ดตามที่นัดไว้ มันก็ชวนให้คิดย้อนไปถึงเรื่องราวในนิยาย, คิดไปถึงสิ่งที่ซูซานทำไว้ และคิดถึงคำว่า Revenge ที่หนังแอบเน้นอยู่บ่อยๆ ก็พอจะเดาได้ว่าสุดท้ายซูซานจะรอเก้อไหม
เพราะหลายครั้งคนเราก็ก่อ “ความแค้น” ขึ้นมาในใจคนอื่นโดยที่เราไม่รู้ตัว เหมือนฉากรูป Revenge ที่ซูซานถามว่ารูปนี้มายังไง พนักงานอีกคนก็บอกว่าคุณนำเข้ามาเองแหละ แต่ซูซานกลับจำไม่ได้… เป็นฉากที่สะท้อนประเด็นนี้ได้เจ๋งดีครับ
สุดท้ายแล้วเราอาจไม่รู้ชัดว่าเอ็ดเวิร์ดคิดยังไง แต่ทีรู้แน่ๆ คือ รู้ว่าซูซานใจร้าวทีละนิด แตกทีละหน่อย (ทั้งเพราะชีวิตจริงและเพราะนิยาย) แต่ทั้งหมดทั้งปวงก็เป็นผลจากการกระทำ การคิด และการตัดสินใจของเธอ
… มนุษย์เราก็ต้องรับในผลของตนเสมอ ไม่ว่าจะยินดีหรือไม่ก็ตาม
และหลายอย่างหากเกิดขึ้นแล้ว จะไม่อาจย้อนคืนได้อีกตลอดไป
ชื่อภาพยนตร์:Nocturnal Animals / คืนทมิฬ
ผู้กำกับภาพยนตร์: Tom Ford
ผู้เขียนบทภาพยนตร์: Tom Ford (screenplay), Austin Wright (novel)
นักแสดงนำ: Amy Adams, Jake Gyllenhaal, Michael Shannon, Isla Fisher, Aaron Taylor-Johnson, Ellie Bamber, Karl Glusman
ดนตรีประกอบ: Abel Korzeniowski
แนว/ประเภท: อาชญากรรม/ระทึกขวัญ
ความยาว: 116 นาที
อัตราส่วนภาพ: 2.35 : 1
เรท: ไทย/น18+, USA/
วันเข้าฉายในประเทศไทย: 16 กุมภาพันธ์ 2017
ผู้ผลิต/ผู้จัดจำหน่าย/สตูดิโอ: Artina Films, Fade to Black Productions, Focus Features